Y Wellness

A Mindful Path to A Better Body and A Better Life

Latest Posts

    Sorry, no posts matched your criteria.

facebook instagram Line
  /  health   /  เคล็ดลับดูแลสุขภาพร่างกายเพื่อภูมิต้านทานที่แข็งแรง

เคล็ดลับดูแลสุขภาพร่างกายเพื่อภูมิต้านทานที่แข็งแรง

นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของ COVID-19 เมื่อปีที่แล้ว หลายคนเริ่มตระหนักถึงสุขภาพมากขึ้นและเริ่มมีการลงทุนกับสุขภาพโดยการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและวิตามินต่างๆ โดยหวังว่าจะช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันเพื่อลดโอกาสในการเจ็บป่วยได้ วิธีการแก้ปัญหาแบบเร่งด่วนนี้ได้กลายเป็นที่แพร่หลายจนทำให้มีการวางตลาดที่มีความสนใจเรื่องการเสริมสร้างภูมิกันมากขึ้น  ถึงอย่างนั้นยังคงมีความไม่ชัดเจนระหว่างยาที่มีการพิสูจน์ทางการแพทย์แล้วและคำบอกเล่าต่างๆ ถึงคุณประโยชน์จากการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารว่าช่วยได้จริงหรือไม่

อ้างอิงจากรายงานของ Global Wellness Trend Report: The Future of Wellness 2021 พบว่าอาหารเสริมต่างๆ กำลังได้รับความนิยมลดลงเนื่องจากผู้คนกำลังมองหาผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพิสูจน์จากวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนก่อนที่จะเริ่มใช้ยาเม็ดใดๆ จากรายงานนี้ยังชี้ให้เห็นอีกว่าการระบาดของโรค ทำให้เรามองข้ามความเชื่อมโยงระหว่างโรคอ้วนลงพุงหรือภาวะเมตาบอลิกซินโดรม (metabolic syndrome) และระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรง ซึ่งทำให้ร่างกายมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อไวรัสได้ง่ายขึ้น

ผู้ที่เป็นโรคอ้วนลงพุงหรือภาวะเมตาบอลิกซินโดรม (มีลักษณะอาการ 3 ใน 5 ข้อต่อไปนี้ คือ คอเรสเตอรอลในเลือดสูง ไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงและมีรอบเอวเพิ่มขึ้น) พบว่ามีแนวโน้มที่จะติดเชื้อไวรัส Covid-19 ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันถูกกดไว้และมีค่าการอักเสบในร่างกายสูง ซึ่งต้นตอของปัญหาไม่ใช่เพียงแค่การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ออกกำลังกายไม่เพียงพอ หรือความเครียด เมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่าได้มีการศึกษาและให้ความสนใจเกี่ยวกับไมโครไบโอมมากขึ้น หรือเพื่อนบ้านที่เป็นมิตรของเรา ซึ่งก็คือ ‘แบคทีเรียในลำไส้’ นั่นเอง

ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน ผู้คนมักจะบริโภคอาหารแปรรูปมากขึ้นซึ่งหมายถึงร่างกายเรากำลังได้รับกากใยอาหารน้อยลง กากใยจากอาหาร คือ พรีไบโอติก (prebiotic) หรืออาหารของแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพ จึงช่วยทำให้ลำไส้มีสุขภาพที่ดี นอกจากนี้ไมโครไบโอมยังช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันของเรามากถึง 70% ดังนั้นการดูแลสุขภาพลำไส้ให้แข็งแรงจึงเป็นกุญแจสำคัญในการปกป้องระบบภูมิคุ้มกันของเราจากไวรัส จากการศึกษาใหม่ยังแสดงให้เห็นว่าลำไส้ของผู้ที่ป่วยโรคโควิท-19 นั้นขาดแบคที่เรียที่ดีที่พบในคนที่มีสุขภาพดีทั่วไป และแบคทีเรียที่ถูกทำลายไปนั้นจะคงอยู่เป็นเวลานานแม้ว่าผู้ป่วยจะหายขาดจากโรคโควิทแล้วก็ตาม

แล้วเราจะเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของเราให้แข็งแรงได้อย่างไร? ปัจจุบันนี้เราสามารถรับประทานโพรไบโอติก (probiotics) เสริมได้จากอาหารหมัก เช่น โยเกิร์ต เทมเป้(Tempeh) กะหล่ำปลีดอง(sauerkraut) คีเฟอร์(kefir) มิโซะ กิมจิและแตงกวาดองหรือผักดอง ส่วนพรีไบโอติกสามารถพบในอาหาร เช่น เมล็ดธัญพืช กล้วย กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง หัวหอม กระเทียมต้น(leeks) ต้นอาติโช๊คและรากชิโครี่(chicory roots) ซึ่งอาหารเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นอาหารสำหรับโพรไบโอติก ซึ่งพรีไบโอติกและโพรไบโอติกทั้งสองชนิดมักจะรวมกันเป็นรูป “ซินไบโอติก(synbiotics)” และนำมาทำเป็นอาหารเสริมในรูปของผงโดยทำให้แห้งแบบเยือกแข็งหรือแคปซูล จากรายงานแนวโน้มสุขภาพทั่วโลกปี 2564(The Global Wellness Trend Report 2021) ยังเน้นย้ำว่าการระบาดของโรคโควิด-19 กำลังเรียกร้องว่าผู้คนควรได้รับคำแนะนำทางด้านโภชนาการและสารอาหารแบบเฉพาะบุคคล (Personalised Nutrition) ซึ่งการทดสอบในห้องปฏิบัติการในปัจจุบันนี้ สามารถช่วยตรวจหาความผิดปกติของลำไส้หรือความไม่สมดุลของแบคทีเรียในลำไส้และช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาผู้ป่วยแบบเฉพาะบุคคลได้ นักวิจัยยังให้ความเห็นตรงกันว่าแต่ละคนมีความต้องการทางโภชนาการที่แตกต่างกันเนื่องจากลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ดังนั้นแทนที่จะให้วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ แบบเต็มกำมือ ตอนนี้จึงเปลี่ยนเป็นการมุ่งเน้นและค้นหาว่าแต่ละบุคคนตอบสนองต่ออาหารประเภทต่าง ๆ อย่างไร รวมถึงการตรวจสอบความเสี่ยงของการขาดวิตามินในแต่ละบุคคลผ่านการวิเคราะห์สารพันธุกรรม เมื่อได้ข้อมูลเฉพาะของแต่ละบุคคลแล้ว แพทย์ก็จะสามารถระบุปัญหาของผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำและช่วยให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพร้อมจ่ายวิตามินอาหารเสริมที่เหมาะสำหรับปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยได้ จึงเป็นที่ชัดเจนว่าไมโครไบโอมและโภชนาการเฉพาะบุคคลคืออนาคตของการดูแลสุขภาพลำไส้ให้แข็งแรง

แม้ไม่ค่อยมีรายงาน แต่สิ่งที่มีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพโดยรวมของเรานั้น คือสังคมและการเป็นอยู่ของเรานั้นเป็นอย่างไรบ้าง การวิจัยระบุว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างค่าการอักเสบในร่างกาย การแยกตัวและภาวะซึมเศร้า ที่ทำให้คนสองคนที่มีอาการเรื้อรังเหมือนกันมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อตัวแปรความเครียดบางอย่างแตกต่างกัน ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนและครอบครัวเสมอมีโอกาสน้อยที่จะยอมจำนนต่อไวรัส ต่างกับผู้ที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวหรือขาดผู้ที่คอยสนับสนุนมักจะได้รับการติดเชื้อได้ง่ายกว่า

วัฏจักรนี้ได้ถูกอธิบายไว้โดยวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ ซึ่งสรุปไว้ในบทความของ Neuropsychoparacology In Sickness and in Health: The Co-Regulation of Inflammation and Social Behavior (nih.gov) ว่าสารที่เรียกว่า ไซโตไคน์(Cytokines) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารในระบบภูมิคุ้มกันและทำให้เกิดการอักเสบ อีกทั้งยังเปลี่ยนพฤติกรรมของเรา โดยกระตุ้นให้เราแยกตัวจากการเข้าสังคมทั่วไป บทความนี้ระบุว่าในช่วงวิวัฒนาการเผ่าพันธุ์ของบรรพบุรุษมีช่วงเวลาที่เป็นอันตรายคือช่วงที่เราเกิดโรคภัยไข้เจ็บจึงทำให้เราเสี่ยงต่อการถูกโจมตีได้ง่าย ซึ่งคนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะมีระดับไซโตไคน์สูงขึ้น ในขณะที่แยกเราออกจากสังคมโดยรวม การเจ็บป่วยนี้ยังทำให้เราต้องการใกล้ชิดกับคนที่เรารักมากขึ้น ซึ่งก็ดีเว้นแต่ว่าคุณจะไม่มีใครคนนั้นเลย คนที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสังคมที่แน่นแฟ้นมีแนวโน้มที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าคนที่มีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดี ในวิวัฒนาการในอดีต การแยกตัวออกจากสังคมทำให้เรามีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการเจ็บป่วย ดังนั้นระบบภูมิคุ้มกันดูเหมือนจะมีการพัฒนาและปรับตัวตามสภาพแวดล้อมทางสังคม ด้วยความหวังว่าจะปกป้องเราจากโรคร้าย เพราะเมื่อเราโดดเดี่ยวก็ทำให้มีการอักเสบเพิ่มขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่งการแยกตัวทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น และการอักเสบอาจทำให้เกิดการแยกตัวและภาวะซึมเศร้าต่อไป

ทั้งหมดนี้ทำให้เราทราบว่า การทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง เราต้องดูแลไมโครไบโอมหรือจุลินทรีย์ที่ดีของเราด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และอาหารเสริมที่เหมาะสม อีกทั้งเราควรมีการเชื่อมต่อกับสังคมอีกด้วย

หากคุณไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นเส้นทางการดูแลตนเองครั้งใหม่นี้ได้อย่างไร สามารถเข้ามาพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของเราที่ BodyConscious at Y Wellness ได้ ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยและสภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลาย เราจะช่วยให้ภูมิต้านทานของคุณกลับมาแข็งแรงอีกครั้งผ่านการบำบัดแบบเฉพาะบุคคล